วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

      เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัววิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล   ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล    เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน  หิน  อากาศและท้องฟ้า  เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น  การสังเกต   การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ 

ความสำคัญของการจัดทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวั

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  Tablet ลงในแผ่นกระดาษ และได้ให้นักษาร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้ง
- อาจารย์อบรมสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
- อาจารย์บอกถึงแนวข้อสอบที่จะออก
- อาจารย์ตรวจบล๊อกเกอร์ของแต่ละคนว่าพบปัญหาหรือไม่ ?
งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้ทำPowwerpoint กลุ่มที่จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งอาจารย์วันที่2 ตุลาคม 2555

                             ปิดคอร์สแล้วค่ะ(เตรียมตัวสอบปลายภาค)^__^

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16



วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานการจัดฐานกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
- อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะและบอกถึงข้อผิดพลาดเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


- วันนี้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
การหักเหของแสง



แนวคิด
     แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดของแสงทุกทิศทุกทางเมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห

อุปกรณ์
      1.น้ำ
      2.แก้วใส
      3.หลอดดูดน้ำ


ขั้นตอนการทดลอง
      1.เทน้ำใส่แก้วให้เต็มแก้ว
      2.นำหลอดใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำ 
      3.นำหลอดใส่ลงไปในแก้วที่ไม่มีน้ำแล้วสังเกตความแตกต่าง
      4.หยิบหลอดออกจากแก้วทั้ง 2 ใบ
      5.ใช้นิ้วมือ 1 นิ้ว ทั้งสองข้างจุ่มลงไปในแก้วทั้งสองใบพร้อมกันแล้วสังเกตความแตกต่าง


สรุปผลการทดลอง


การหักเหของแสงแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางผ่านชนิดกันเมื่อแสงคลื่นที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห  และตัวกลางแต่ละชนิดจะเกิดการหักเหที่แตกต่างกั





วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

วันที่ 4 กันยายน  2555



-วันนี้อาจารย์ดูบอร์ดที่แต่ละกลุ่มจัดมา เพื่อร่วมกันหาข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ควรนำไปแก้ไขปรับปรุงพร้อมกับส่งสมุดวิธีการพับดอกไม้อาจารย์นัดเรื่องอบรม เทคนิคการเล่านิทาน ในวันอาทิตย์ที่ 9 ก.ยตกลงเรื่องกลุ่มที่ต้องไปทำฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม





บันทึกการเรียนครั้งที่13

บันทึกการเรียนครั้งที่13

วันที่ 28  สิงหาคม   2555




-ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์จะสอนชดเชย

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่12

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่12
วันที่ 25 สิงหาคม 2555

-วันนี้อาจารย์ได้จัดอบรมการทำสื่อจัดป้ายนิเทศ หรือจัดบอร์ดโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ให้แก่นักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษสาขาการศึกษาปฐมวัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่ห้องศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์   วันนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อหลากหลายอย่างดังนี้
-การทำดอกบัว จากกระดาษ
-การทำดอกกุหลาบแบบแยกกลีบโดยใช้แม็กเย็บ
-การทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่  จากกระดาษ
-การทำดอกไม้เป็นรูปหัวใจ
-การทำดอกมะลิจากทิชชู
-การทำใบไม้